
วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การประมง
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)
หลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็มภาษาไทย: วิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาศาสตร์การประมง)
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ: Bachelor of Science (Fisheries Science)
ชื่อย่อภาษาไทย: วท.บ. (วิทยาศาสตร์การประมง)
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ: B.Sc. (Fisheries Science)
การรับเข้าศึกษา
รับทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ
รอบที่ 1 การรับด้วยแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)
รอบที่ 2 การรับแบบโควตา (Quata)
รอบที่ 3 การรับตรงร่วมกัน (Admission)
รอบที่ 4 การรับตรงแบบอิสระ (Direct Admission)
เกณฑ์การรับเข้า
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือประกาศนียบัตรอื่นที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่า
สถานที่จัดการเรียนการสอน
มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี เลขที่ 1 หมู่ที่ 3 ตำบลสามพระยา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี 76120
ปรัชญาหลักสูตร
มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะทางด้านการประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และการจัดการทรัพยากรทางน้ำ สามารถประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพได้อย่างสร้างสรรค์
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- ผลิตบัณฑิตเพื่อตอบสนองต่อความต้องการกำลังคนของภาคเอกชนและภาครัฐในอุตสาหกรรมการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
- ผลิตบัณฑิตด้านการประมงที่มีทักษะผู้ประกอบการยุคใหม่
- ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความเข้าใจต่อบริบท ด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติทางน้ำเชิงพื้นที่
- ผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรม จริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังเรียนจบ
- นักวิชาการประมงในธุรกิจด้านการประมงในหน่วยงานภาคเอกชน เช่น นักวิชาการฟาร์ม ผู้จัดการฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เจ้าหน้าที่วางแผนและควบคุมการผลิตสัตว์น้ำ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมธุรกิจการประมงและการเกษตร อาหารสัตว์น้ำ เคมีภัณฑ์และอุปกรณ์ต่าง ๆ
- พนักงานในส่วนราชการและภาครัฐอื่น ๆ เช่น นักวิชาการประมง นักวิจัย นักวิชาการประจำห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์
- นักธุรกิจเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ปลาสวยงาม พรรณไม้น้ำ
- ผู้ประกอบอาชีพอิสระและธุรกิจส่วนตัวด้านการประมง เจ้าหน้าที่วางแผนและควบคุมการผลิตสัตว์น้ำ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมธุรกิจการประมงและการเกษตร อาหารสัตว์น้ำ เคมีภัณฑ์และอุปกรณ์ต่างๆ
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังหมวดวิชาเฉพาะของหลักสูตรสำหรับการศึกษาทางด้านการประมง
- อธิบายหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นความรู้พื้นฐานสำหรับการศึกษาทางด้านการประมง
- แสดงวิธีการคำนวณที่เกี่ยวข้องกับการประมง
- อธิบายวิธีการเพาะขยายพันธุ์และการเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจได้อย่างถูกต้อง
- อธิบายการจัดการปัจจัยที่สำคัญในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
- ดำเนินการผลิตสัตว์น้ำในรูปแบบของผู้ประกอบการยุคใหม่ได้อย่างสร้างสรรค์
- เลือกใช้ความรู้ด้านสังคมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อจัดการทรัพยากรชีวภาพและถิ่นที่อยู่อาศัยทางน้ำ
- วางแผนและทำการวิจัย เพื่อแก้ปัญหาทางด้านการประมง
- ค้นคว้าข้อมูล ติดตามข่าวสาร ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และภาษาอังกฤษในการสื่อสารด้านการประมง
- อธิบายจรรยาบรรณในการประกอบอาชีพ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์
การลงทะเบียนเรียนหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิต ตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 131 หน่วยกิต
โดยมีโครงสร้างหลักสูตร คือ
- หมวดวิชาศึกษาทั่วไป จำนวนไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต
- หมวดวิชาเฉพาะ จำนวนไม่น้อยกว่า 95 หน่วยกิต
วิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 26 หน่วยกิต
วิชาบังคับ 57 หน่วยกิต
วิชาเลือก จำนวนไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต - หมวดวิชาเลือกเสรี จำนวนไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
รายวิชาเรียนในชั้นปีที่ 1
ภาคการศึกษาที่ 1
ศิลปะศิลปากร 3(3-0-6)
ภาษาอังกฤษในยุคดิจิทัล 3(2-2-5)
พลเมืองตื่นรู้ 3(3-0-6)
หลักชีววิทยา 3(3-0-6)
ปฏิบัติการชีววิทยา 1(0-3-0)
การประมงยุคปัจจุบัน 2(2-0-4)
วิชาเลือก หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 3
ภาคการศึกษาที่ 2
ศิลปากรสร้างสรรค์ 3(3-0-6)
ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารนานาชาติ 3(2-2-5)
ทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ 3(3-0-6)
ความเป็นผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม 3(3-0-6)
หลักเคมี 3(2-3-4)
ชีววิทยาของปลาและสัตว์น้ำมีกระดูกสันหลัง 3(2-3-4)
รายวิชาเรียนในชั้นปีที่ 2
ภาคการศึกษาที่ 1
นวัตกรรมและการออกแบบ 3(3-0-6)
เคมีอินทรีย์ 3(2-3-4)
คณิตศาสตร์เบื้องต้น 3(3-0-6)
ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางการเกษตร 3(2-3-4)
สัตว์น้ำไม่มีกระดูกสันหลัง 3(2-3-4)
วิชาเลือก หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 3
ภาคการศึกษาที่ 2
จุลชีววิทยาสำหรับวิทยาศาสตร์การเกษตร 3(3-0-6)
ปฏิบัติการจุลชีววิทยาสำหรับวิทยาศาสตร์การเกษตร 1(0-3-0)
ชีวสถิติเบื้องต้น 3(2-3-4)
ฟิสิกส์พื้นฐาน 3(2-3-4)
นิเวศวิทยาและระบบนิเวศทางน้ำ 3(2-3-4)
หลักการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 3(3-0-6)
ประสบการณ์วิชาชีพ 1 1(0-3-0)
วิชาเลือกเสรี 3
รายวิชาเรียนในชั้นปีที่ 3
ภาคการศึกษาที่ 1
การเพาะขยายพันธุ์สัตว์น้ำ 3(2-3-4)
เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 3(2-3-4)
อาหารสัตว์น้ำ 3(2-3-4)
พันธุศาสตร์และการปรับปรุงพันธุ์สัตว์น้ำ 3(2-3-4)
สัมมนา 1(0-2-1)
วิชาเลือกเสรี 3
วิชาเลือก 3
ภาคการศึกษาที่ 2
คุณภาพน้ำสำหรับการประมง 3(2-3-4)
ระเบียบวิธีวิจัยทางการประมง 3(2-3-4)
โรคในสัตว์น้ำเศรษฐกิจ 3(2-3-4)
มลพิษทางน้ำและการจัดการ 3(2-3-4)
การส่งเสริมทางการเกษตรเชิงสร้างสรรค์ 1(0-2-1)
จุลนิพนธ์ 1 1(0-2-1)
วิชาเลือก 3
รายวิชาเรียนในชั้นปีที่ 4
ภาคการศึกษาที่ 1
การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ทางการประมง 3(2-3-4)
การตลาดเพื่อผู้ประกอบการรายใหม่ 3(3-0-6)
จุลนิพนธ์ 2 2(1-2-3)
ประสบการณ์วิชาชีพ 2 1(0-3-0)
วิชาเลือก 6 หน่วยกิต
ภาคการศึกษาที่ 2
สหกิจศึกษา 6(0-18-0)
วันที่ปรับปรุง 22 กันยายน 2564
หมายเหตุ : ฝ่ายวิชาการ แจ้งมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 9/2564 เมื่อวันที่่ 22 กันยายน 2564 ได้อนุมัติแล้วนั้น รายละเอียดหลักสูตร (มคอ.2) สำหรับการเสนอปรับปรุงหลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การประมง (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) อยู่ระหว่างดำเนินการกรอกข้อมูลการปรับปรุงหลักสูตรลงในระบบ CHECO เพื่อเสนอ สป.อว. รับทราบหลักสูตรต่อไป
ไฟล์ : มคอ.2 ที่ได้รับอนุมัติ จาก สกอ.
ไฟล์ : มคอ.2 ที่ได้รับอนุมัติ จาก สกอ. (ยังไม่มีไฟล์ = เร็วๆ นี้)
ไฟล์ : แผ่นพับสรุป