นักศึกษา

กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 มีการฝึกประสบการณ์วิชาชีพตามฐานกลุ่ม การลงพื้นที่ธนาคารปูม้า เพื่อศึกษาทรัพยากรประมง การเก็บตัวอย่างบริเวณชายฝั่งทะเล การต่อตู้กระจก การบรรจุลูกพันธุ์ปลา การเพาะอาร์ทีเมีย การฉีดฮอร์โมนปลา การเรียนรู้เครื่องมือช่างและไฟฟ้า 

ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ พี่ๆ  ปี 2 เรียนประสบการณ์วิชาชีพ โดยกลุ่มที่ 1 ฝึกปฏิบัติการประเมินทรัพยากรสัตว์น้ำ ออกไปศึกษานอกสถานที่ ไปธนาคารปูม้า ศึกษาจากตัวอย่างจริง พื้นที่จริง

การฝึกอบรมระยะสั้น สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัย ประจำปี 2567

การฝึกอบรมระยะสั้น สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัย ประจำปี 2567 ระหว่างวันที่ 13-21 พฤษภาคม 2567 ภายใต้หัวข้อ "การทำประมงอย่างเป็นมิตร เพื่อการจัดการทรัพยากรประมงที่ยั่งยืน" ณ ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สำนักงานฝ่ายฝึกอบรม โดยมีนางสาวณัฐชฎาธร โพธิ์จันทร์ และนางสาวธัญญ์นภัส วัฒนากรพิบูลย์ นักศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตร์การประมงเข้าร่วมอบรม

เว็บไซต์คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากร

เว็บไซต์คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากร สืบค้นได้ด้วย    https://asat.su.ac.th/

หลักสูตรวิทยาศาสตร์การประมงได้จัด “โครงการศึกษาดูงาน หลักสูตรวิทยาศาสตร์การประมง (ทัศนศึกษา)” ประจำปีการศึกษา 2566

หหลักสูตรวิทยาศาสตร์การประมงได้จัด “โครงการศึกษาดูงาน หลักสูตรวิทยาศาสตร์การประมง (ทัศนศึกษา)” ประจำปีการศึกษา 2566 ชั้นปีที่ 1 (1) ศึกษาดูงาน ณ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำหว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์ (2) สายลมฟาร์ม จ.ประจวบคีรีขันธ์ (3) ธนาคารปูม้าบ้านหนองข้าวเหนียว อ.สามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์ ชั้นปีที่ 2 ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAFDEC) จ. สมุทรปราการ ชั้นปีที่ 3 สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล บางแสน มหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้และประสบการณ์ตรงทางด้านวิชาการด้านการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หลักสูตรจึงได้เล็งเห็นถึงองค์ความรู้ด้านวิชาการจากธนาคารปูม้าฯ การอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ การอนุบาลลูกปูม้า การปล่อยคืนลูกปูม้าสู่ธรรมชาติ ความรู้ด้านเครื่องมือประมง เทคโนโลยีการประมง เรือประมง และสมุทรศาสตร์ การจัดการแสดงสัตว์น้ำและการจัดการแสดงพรรณสัตว์น้ำ เข้าเยี่ยมชมสถานแสดงพรรณสัตว์น้ำ เป็นการเตรียมพร้อมของนักศึกษา เป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นพลเมืองโลก (Global citizen)

การศึกษาพันธุ์ศาสตร์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

การศึกษาพันธุ์ศาสตร์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ปฏิบัตการการศึกษาพันธุศาสตร์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ พันธุศาสตร์ของลักษณะคุณภาพและลักษณะปริมาณของปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ หลักพื้นฐานของพันธุศาสตร์ประชากร การผสมพันธุ์เชิงคัดเลือกเพื่อปรับปรุงลักษณะคุณภาพและลักษณะปริมาณของสัตว์น้ำชนิดที่มีการเพาะเลี้ยง เครื่องหมายพันธุกรรมและการใช้เครื่องหมายพันธุกรรมช่วยในการคัดเลือก ระบบการผสมพันธุ์ การจัดการชุดโครโมโซม การดัดแปลงพันธุกรรม

การศึกษาชีววิทยาของสัตว์น้ำ

การศึกษาชีววิทยาของสัตว์น้ำ   ในรายวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ให้นักศึกษาได้ไปเรียนรู้ยังสถานที่จริง ณ ธนาคารปูม้าปราณบุรี ชะอำ หัวหิน เพื่อศึกษาชีววิทยาของสัตว์น้ำ

จุลชีววิทยาสำหรับวิทยาศาสตร์การเกษตร

จุลชีววิทยาสำหรับวิทยาศาสตร์การเกษตร   ศึกษาโครงสร้างและหน้าที่ของจุลินทรีย์ การจัดหมวดหมู่ สารอาหาร การเจริญและการสืบพันธุ์ พันธุศาสตร์ ความสำคัญของจุลินทรีย์ในด้านการก่อโรค จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ด้านการเกษตร อาหารและสิ่งแวดล้อม

กิจกรรมส่งเสริมทักษะอาชีพ

อควาโปนิกส์ (Aquaponics)

อควาโปนิกส์ (Aquaponics) ในรายวิชาอควาโปนิกส์ หลังจากผ่านไป 3-4 สัปดาห์ ผักสลัดที่เลี้ยงร่วมกับระบบเลี้ยงปลาก็ใกล้เก็บขายได้แล้วจากฝีมือของนักศึกษาในรายวิชา

การฉีดฮอร์โมนปลา

การฉีดฮอร์โมนปลา ในรายวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ให้นักศึกษาได้เรียนรู้การปฏิบัติ วิธีการ การฉีดฮอร์โมนปลา

ระบบอควาโปนิกส์ การเลี้ยงสัตว์น้ำร่วมกับการปลูกพืช

ระบบอควาโปนิกส์ การเลี้ยงสัตว์น้ำร่วมกับการปลูกพืช    [video src="https://www.fishscisu.com/wp-content/uploads/2024/01/VDO-การย้ายผักสลัด.mp4" /]

ปฏิบัติการวิชาปลาสวยงาม

ปฏิบัติการวิชาปลาสวยงาม เรียนรู้การการเพาะเลี้ยงปลาสวยงาม การเตรียมบ่อ ระบบการจัดการ การเพาะฟัก การอนุบาลปลาสวยงามชนิดต่าง ๆ [video src="https://www.fishscisu.com/wp-content/uploads/2023/12/ปฏิบัติการวิชาปลาสวยงาม.mp4" /]

ปฏิบัติการจุลชีววิทยาทางการเกษตร

ปฏิบัติการจุลชีววิทยาทางการเกษตร          เรียนรู้การเตรียมอาหารเลี้ยงเชื้อแบคทีเรียในรูปแบบต่าง ๆ  และเทคนิคปลอดเชื้อ (aseptic technique) [video src="https://www.fishscisu.com/wp-content/uploads/2023/12/ปฏิบัติการวิชาจุลชีววิทยา.mp4" /]

ปฏิบัติการวิชาอควาโปนิกส์ (Aquaponics) การเลี้ยงปลาร่วมกับการปลูกผัก

ปฏิบัติการวิชาอควาโปนิกส์ (Aquaponics) การเลี้ยงปลาร่วมกับการปลูกผัก นักศึกษาเรียนรู้การเพาะกล้าผักสลัด กรีนโอ๊ค เรดโอ๊ค ย้ายลงวัสดุปลูก ย้ายไปโรงเรือนระบบอควาโปนิกส์ Aquaponics การปลูกพืชร่วมกับการเลี้ยงสัตว์น้ำ คือการรวมระบบของการปลูกพืชและการเลี้ยงสัตว์น้ำเข้าด้วยกัน การใช้ระบบน้ำหมุนเวียน เอาของเสียจากระบบหนึ่งไปเป็นของดีของอีกระบบหนึ่ง โดยเลียนแบบการพึ่งพาอาศัยกันและเกื้อกูนของธรรมชาติ ระบบนี้จะมีการหมุนเวียนน้ำเลี้ยงปลาที่มีเศษอาหารปลาและของเสียจากปลา ไปผ่านกระบวนการกรองทางชีวภาพ ก่อนส่งน้ำไปใช้ในการปลูกพืชไร้ดิน พืชจะสามารถดึงไนเตรทในน้ำไปใช้เพื่อการเจริญเติบโด ระบบนี้จึงเป็นระบบบำบัดน้ำหมุนเวียน ทำให้ลดการเปลี่ยนถ่ายน้ำเพิ่มผลผลิตอาหาร ปลอดภัย และเพิ่มมูลค่าผลผลิต [video src="https://www.fishscisu.com/wp-content/uploads/2023/12/ปฏิบัติการวิชาอควาโปนิกส์.mp4" /]

การเรียนรู้และทำกิจกรรมในรายวิชาประสบการณ์วิชาชีพ 1

หัวข้อ การเรียนรู้และทำกิจกรรมในรายวิชาประสบการณ์วิชาชีพ 1 นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ได้แบ่งฐานการปฏิบัติงาน ดังนี้ 1) การสำรวจทรัพยากรประมง - วิธีเก็บตัวอย่าง วัดขนาด คำนวณสถิติ ชีววิทยาประมงเบื้องต้น 2) การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง - เครื่องมือช่างเบื้องต้น ปั๊มน้ำ เครื่องให้อากาศ ระบบไฟฟ้า ระบบประปา การแก้ไขปัญหาเบื้องต้น 3) ปฏิบัติการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ - การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและอาหารสัตว์น้ำวัยอ่อน [video src="https://www.fishscisu.com/wp-content/uploads/2023/12/723961252.343683.mp4" /] [video src="https://www.fishscisu.com/wp-content/uploads/2023/12/723961252.627998.mp4" /] [video src="https://www.fishscisu.com/wp-content/uploads/2023/12/723961252.485876.mp4" /] [video src="https://www.fishscisu.com/wp-content/uploads/2023/12/723961252.199319.mp4" /] [video src="https://www.fishscisu.com/wp-content/uploads/2023/12/723961251.321139.mp4" /] [video src="https://www.fishscisu.com/wp-content/uploads/2023/12/723961251.744308.mp4" /] [video src="https://www.fishscisu.com/wp-content/uploads/2023/12/723961251.545478.mp4" /]

Senior Project (จุลนิพนธ์) พี่ปี 4 มีการศึกษาการอนุบาลหมึก

Senior Project  (จุลนิพนธ์) พี่ปี 4 มีการศึกษาการอนุบาลหมึก [video src="https://www.fishscisu.com/wp-content/uploads/2023/09/หมึก.mp4" /]